‘ดัดแปลงรถ/แต่งรถ’ ประกันคุ้มครองไหม?

ดัดแปลงตกแต่งรถประกันคุ้มครองไหม

หลายคนที่รักการแต่งรถเป็นชีวิตจิตใจ ก็คงอยากดัดแปลงสภาพรถของตัวเอง ให้สวยเท่ ดูดี ตามสไตล์ของแต่ละคน อันนี้ไม่ผิดครับ

แต่ก็อย่าลืมว่าถ้าทำ ประกันรถยนต์ แล้ว ว่ากฎหมาย เมื่อเรา ‘ดัดแปลงรถ’ หรือ ‘แต่งรถ’ ประกันรถยนต์อาจจะไม่คุ้มครองในบางกรณี

วันนี้ Priceza Money มาเล่าให้ฟังครับว่า ดัดแปลงรถ/แต่งรถ ประกันจะคุ้มครองหรือไม่คุ้มครองในกรณีไหนบ้าง?

'ดัดแปลงรถ/แต่งรถ' ประกันคุ้มครองไหม?

การดัดแปลงหรือแต่งรถที่ประกันรถยนต์จะยังคุ้มครองอยู่ก็คือ ‘การดัดแปลงหรือแต่งรถเพื่อความสวยงามหรือติดอุปกรณ์พื้นฐานทั่วไป’ เช่น

  • เปลี่ยนล้อแมกซ์
  • เปลี่ยนไฟของรถ
  • ติดสติกเกอร์รอบรถ
  • ติดตั้งสเกิร์ทรถยนต์รอบคัน
โดยหลักการของประกันก็คือ แต่งรถยังไงก็ได้ที่ไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น หรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุซะเอง

ประกันคุ้มครองกรณีแต่งรถเท่าไหร่?

ถ้าอยากบริษัทประกันของเราครอบคลุมการแต่งรถของเราทั้งหมด ไม่ว่าจะ ล้อแมกซ์ราคาแพง หรือ สเกิร์ทรอบคันอันใหม่ ต้อง ‘แจ้งบริษัทประกันทันทีที่มีการแต่งรถ’ นะครับ

เพราะ การแต่งรถทำให้มูลค่ารถของเราสูงขึ้น บริษัทประกันก็จะปรับเบี้ยให้สูงขึ้นตามไป ด้วย ถ้าแจ้งก่อน บริษัทประกันคุ้มครองเต็มๆแน่นอน

  • ถ้าหากแจ้งบริษัทประกันแล้ว บริษัทประกันรับรู้การแต่งรถของเราเพิ่มแล้ว แต่ไม่ต้องการให้ปรับเบี้ยเพิ่ม จะมีวงเงิน คุ้มครองอุปกรณ์แต่งสูงสุดที่ 20,000 บาท เท่านั้นครับ
  • และกรณีที่ไม่ได้แจ้งบริษัทประกันเลย ประกันรถยนต์ จะคุ้มครองรถเราตามราคาอะไหล่เดิมครับ คือ อะไหล่ชิ้นเดิมจากโรงงานราคาเท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น ไม่มีการนับของแต่ง

ดัดแปลงรถแบบไหน ไม่ได้รับความคุ้มครอง?

เมื่อดัดแปลงสภาพรถยนต์ มีหลายส่วนที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะมีรวมทั้ง การดัดแปลงที่ผิดกฏหมาย และ การดัดแปลงทำให้มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ด้วย

ดัดแปลงรถยนต์เพื่อเพิ่มความเร็ว

ตรงนี้ถือว่าผิดกฎหมาย หากไปยกเครื่องยนต์ใหม่เพื่อเพิ่มความเร็วแรง เกิดมาตรฐานของเครื่องยนต์ทั่วไป บางคนดัดแปลง เพื่อใช้เป็นรถแข่ง ซึ่งถือว่าเป็นการทำผิดวัตถุประสงค์ ส่งผลต่อความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ การดัดแปลงสภาพเครื่องยนต์แบบนี้ มักจะไม่ได้รับการพิจารณาคุ้มครองจากประกัน

การแต่งรถให้ยกสูงขึ้น หรือโหลดต่ำเกินไป

ถ้าจะใช้ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ก็จะมีกำหนดความสูง-ต่ำระบุไว้ คือ รถต้องไม่โหลดเตี้ยต่ำกว่า 40 เซนติเมตร และต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ซึ่งหากสูงไปกว่านี้ หรือต่ำไปกว่านี้ จะเข้าข่ายผิดกฎหมายทันที โดยมีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท และยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันอีกด้วย

ดัดแปลงท่อไอเสียให้ดัง

นี่เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เหล่านักซิ่งชอบไปดัดแปลงกัน ซึ่งจะทำให้เสียความคุ้มครองจากประกันไป อีกทั้งยังผิดกฎหมายเมื่อมีเสียงดังเกิน 100 เดซิเบล เป็นเหตุให้รบกวนผู้อื่น

การดัดแปลงแผ่นป้ายทะเบียน

ตรงนี้บอกเลยว่า ใครที่ชอบดัดแปลงป้ายทะเบียนให้มีลักษณะที่ผิดแปลกไปจากมาตรฐานของไทย หรือพยายามบดบังแผ่นป้ายทะเบียนไม่ให้มองเห็น โดยใส่แฟชั่นลงไป ยิ่งผิดกฎหมายรุนแรง มีโทษทั้งจำ ทั้งปรับเลยทีเดียว

ในกรณีติดตั้งก๊าซ LPG / NGV

จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกัน เมื่อไม่ได้แจ้งให้ทางประกันทราบล่วงหน้า ว่ามีนำรถไปติดตั้งก๊าซ LPG / NGV แต่หากมีการแจ้งล่วงหน้าให้บริษัทประกันพิจารณา จะยังคงได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกรมธรรม์

กฎหมายรถกระบะเสริมข้าง หรือการดัดแปลงสภาพรถกระบะในรูปแบบต่างๆ

ซึ่งเป็นการดัดสภาพนอกเหนือจากที่โรงงานใส่มาให้ จะต้องทำการแจ้งต่อนายทะเบียนทุกครั้ง เมื่อมีการดัดแปลงสภาพรถยนต์ และกฎหมายตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ปี 2522 มาตรา 5 และมาตรา 15 ด้านหน้าจะต้องไม่ยื่นเกินหน้าหม้อรถ ส่วนด้านหลังยื่นได้ไม่เกิน 2.50 เมตร ความสูงให้บรรทุกจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร และความกว้างบรรทุกได้ไม่เกินความกว้างตัวรถ ทั้งนี้ หากไม่มีการแจ้งในการดัดแปลงรถเพิ่มเติมต่อนายทะเบียน จะถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.รถยนต์

สรุปแต่งรถยังไงไม่ให้ผิดกฏหมาย

รุปจากที่อธิบายไปก่อนหน้า เราควรปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็น

  • ไม่นำแผ่นป้ายทะเบียนมาดัดแปลง ตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว
  • ไม่ติดป้ายทะเบียนที่ทำขึ้นเอง หรือป้ายปลอมซึ่งไม่ใช่เอกสารที่ทางราชการกำหนดให้
  • ไม่ทำรถให้โหลดเตี้ย หรือสูงเกินไปตามกฎหมายกำหนด
  • ไม่เปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถ โดยไม่แจ้งกรมการขนส่ง
  • ไม่เปลี่ยนท่อไอเสียใหม่ ที่มีความดังเกิน 100 เดซิเบล
  • ไม่ทำไฟหน้าหลากสี ที่ผิดเพี้ยนไปจากกำหนดกฎหมาย จนทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้อื่นได้ง่าย
  • ไม่เปลี่ยนเครื่องยนต์ ให้แรงเกินมาตรฐานของตัวเครื่องยนต์ทั่วไป
  • ไม่เปลี่ยนเบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ที่มีขนาดเกินมาตรฐาน หรือถอดเบาะใดๆของเครื่องโดยสารออก
  • ไม่ถอดกระจกมองข้าง หรือมองหลังออก แล้วใส่กระจกเล็กๆ ซึ่งเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ

เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์

ประกันรถยนต์

รวบรวมแผนประกัน และโปรโมชั่นจากหลากหลาย บริษัทประกันมาให้คุณเปรียบเทียบที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายเว็บ

ดังนั้น หากอยากดัดแปลงสภาพรถแล้วได้รับความคุ้มครอง และถูกกฎหมาย ควรศึกษาข้อจำกัดจากบริษัทประกันรถยนต์ให้ดีก่อน รวมถึงศึกษากฎหมายของกรมการขนส่งทางบก เรื่องการแก้ไขดัดแปลงสภาพรถยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดพลาด จนกลายเป็นเสียค่าปรับ แถมยังมีสิทธิ์ถูกจับด้วยครับ

ส่วนใครอ่านแล้วอยากได้ประกันรถยนต์ ก็เข้ามาเปรียบเทียบได้ที่ Priceza Money เลยนะครับ หรือจะแอดไลน์เข้ามาพูดคุยกันก็ได้ที่ LINE : @PricezaMoney ครับผม

Share:

Facebook

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *